Header Ads

Image result for theme header

การดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ


การดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ

              
             การใส่สายสวนปัสสาวะคือ อะไร?

             การใส่สายสวนปัสสาวะคือ การใส่สายสวนปราศจากเชื้อ เข้าไปคาในกระเพาะปัสสาวะ ผ่านทางท่อปัสสาวะ เพื่อใช้ระบายปัสสาวะ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถระบายปัสสาวะออกได้เอง


ภาพแสดง สายสวนปัสสาวะชนิดสวนคา
                                           

ภาพแสดงตำแหน่งการคาสายสวนปัสสาวะ
ในกระเพาะปัสสาวะ(เพศชาย)

                   การดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ ทำอย่างไร?
     
                  หัวใจสำคัญในการดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะมีด้วยกัน 2 ประการ คือ
           1. ทำให้ปัสสาวะไหลสะดวก
           2. การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ



          การทำให้ปัสสาวะไหลสะดวก
          การดูแลให้ผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ มีปัสสาวะไหลสะดวกมีด้วยกันดังนี้
                 - ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำสะอาดจำนวนมากๆ 2-3 ลิตร/วัน (ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้มีโรคที่แพทย์สั่งจำกัดน้ำ) เพื่อช่วยชะล้างสิ่งอุดตันภายในท่อทางเดินปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไหลคล่อง ลดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
                 - การดูแลสายสวนปัสสาวะไม่ให้ หัก พับ งอ เพื่อป้องกันปัสสาวะคั่งค้างภายในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความไม่สุขสบายในผู้ป่วย และปัสสาวะที่คั่งค้างเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค เป็นสาเหตุในเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
                 - การบีบรีดสายสวนปัสสาวะ ช่วยป้องกันการจับตัวกันของตะกอน ป้องกันการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ
                    อุปกรณ์ 
                     1. ถุงมือสะอาด 1 คู่
                     2. สำลีชุบ Alcohol 1 ก้อน

                    วิธีการบีบรีดสายสวนปัสสาวะ
                     1. ล้างมือให้สะอาด สวดถุงมือสะอาด
                     2. ใช้มือข้างที่ไม่ถนัด จับสายสวนปัสสาวะด้านที่ติดกับตัวผู้ป่วยไม่ให้สายหลุดเลื่อน
                     3. ใช้มือข้างที่ถนัดจับสายด้านที่ต่ำกว่ามือที่ไม่ถนัดพร้อมด้วยสำลีชุบ Alcohol บีบรูดสายลงมา 2-3 ครั้ง พร้อมสังเกตุการไหลของปัสสาวะ หรือตะกอนในสาย


             การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
                      1.ถุงรอบรับน้ำปัสสาวะควรอยู่ในบริเวณตำแหน่งที่ตำกว่ากระเพาะปัสสาวะ เพื่อไม่ให้น้ำปัสสาวะไหลย้อนกลับเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อ และให้น้ำปัสสาวะไหลลงมายังถุงรองรับโดยง่าย
                       2. ดูแลสายสวนปัสสาวะให้อยู่ในระบบปิด เฝ้าระวังไม่ให้สายหลุด รั่ว
                       3. ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทุกครั้งควรมีการพับสาย เพราะการเคลื่อนย้ายอาจเกิดการไหลย้อนกลับของน้ำปัสสาวะ และหลังเสร็จจากการเคลื่อนย้ายทุกครั้ง จะต้องตรวจสอบให้สายปัสสาวะทำงานได้ปกติ
                        4.การเทปัสสาวะออกจากถุงทุกครั้งควรมีการเช็ดทำความสะอาดบริเวณท่อสำหรับเทปัสสาวะทุกครั้ง ทั้งก่อนเท และหลังเทปัสสาวะเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
                        5. ล้างทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์อย่างน้อยวันละ2ครั้ง เช้า-เย็น หรือมากกว่านั้นก็ได้ ควรเช็ดผิวหนังบริเวณนั้นให้แห้ง เพื่อลดการติดเชื้อและโรคผิวหนังอื่นๆที่จะตามมา
                         6. สังเกตุ สี กลิ่น ตะกอน และปริมาณของปัสสาวะ หากผิดปกติให้นำผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการผิดปกติเหล่านั้น

                  
ท่อสำหรับถ่ายปัสสาวะออกจากถุง


การแขวนถุงปัสสาวะในตำแหน่งที่ถูกต้อง

การวางถุงปัสสาวะไม่ถูกต้อง



                   * ควรเปลี่ยสายสวนปัสสาวะเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
                   * หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น ปวดท้อง ให้รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์
                   * ในกรณีที่ท่านไม่ได้อยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา อาจจะต้องใส่อุปกรณ์ในการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยดึงสายสวนปัสสาวะออกเอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บในช่องทางเดินปัสสาวะได้

อุปกรณ์ป้องกันผู้ป่วยดึงสายสวนปัสสาวะ
                     


1 ความคิดเห็น:

แนะนำ ติชม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.